วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

“อยู่กับก๋ง”


  “อยู่กับก๋ง” หยก  บูรพา  แต่งราวปี พ.ศ.๒๕๑๙  เนื้อเรื่องเป็นภาพชีวิตย้อนหลังไปเมื่อประมาณยี่สิบกว่าปี  ผู้แต่งได้เขียนจากประสบการณ์จริงด้วยวิธีให้ตัวเอกของเรื่อง คือ เด็กผู้ชายชื่อหยก  เล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ที่อยู่กับก๋งชาวจีนผู้อพยพจากผืนแผ่นดินบ้านเกิดมาอยู่ในประเทศไทย
          “อยู่กับก๋ง” เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนจีนที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยสมัยเริ่มแรก  ความสัมพันธ์ระหว่างคนจีนกับคนไทย  ชีวิตชาวห้องแถวในชนบท  นอกจากนั้นผู้แต่งได้พยายามสอดใส่ทัศนคติต่อชีวิต สังคม วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตและอาชีพของคนจีนที่ออกจากแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความหวังว่าอนาคตจะต้องดีกว่าอดีตและปัจจุบัน
          ชีวิตก๋งบนผืนแผ่นดินไทยเป็นชีวิตของคนธรรมดาสามัญที่จากแผ่นดินบ้านเกิดมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ก๋งทำงานเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างจริงจัง  เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้าน  เกรงกลัวและรักษากฎหมายบ้านเมืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎแห่งกรรมตามคติความเชื่อแห่งจีนเก่า  และที่สำคัญก๋งมีความเข้าใจในความเป็นไทย  รักคนไทย  บำเพ็ญตนเยี่ยงพลเมืองดีตลอดชีวิตอันยากไร้  เทิดทูลองค์พระมหากษัตริย์ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  ก๋งได้พยายามถ่ายทอดความสำนึกดังกล่าวให้แก่หยกหลานชายคนเดียวของก๋งและคนอื่นๆ  ตามโอกาสอันควร  ขณะเดียวกันก๋งก็สงวนสิ่งที่ดีงามอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพราะก๋งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและไม่ขัดกับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ก๋งมาอยู่  และหยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กชาวจีนที่เกิดในเมืองไทย  เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้มีคุณธรรมเช่นก๋ง  หยกจึงเป็นตัวแทนของเด็กไทยเชื้อสายจีนที่ความสำนึกอย่างแน่นแฟ้นว่าเป็นคนไทย
          “ฉันเก็บเครื่องนอนอย่างเรียบร้อยทุกครั้ง  เพราะก๋งพร่ำสอนฉันว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าต่อชีวิตของเราหมอนเป็นที่รองหัวซึ่งเป็นของสูงสุดในร่างกาย  เสื่อเป็นเครื่องรองให้เราพ้นจากความสกปรกของธุลีดิน  ผ้าห่มให้ความอบอุ่นและมุ้งกันเราให้พ้นจากการรบกวนของสัตว์ประเภทเลื้อยคลานและแมลง”
          “คนที่ไม่เป็นระเบียบชีวิตจะยุ่งเหยิง  คนที่ไม่รักความสะอาดจะหาความสดชื่นแจ่มใสไม่ได้  และคนที่ไม่รักความสุจริตชีวิตจะมีมลทิน”
          “ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน  แต่ควรอายที่เป็นคนเลว  เพราะความจน ความรวยเราเลือกไม่ได้  แต่ความดีความเลวเราเลือกทำ  เลือกเว้นได้”
          “เด็กห้องแถวกลางตลาดอย่างฉัน   ก็ต้องหัดทำงานได้สารพัดอย่าง  ไม่ว่างานหนักหรืองานเบา  มันเป็นความจำเป็นโดยมีความจนเป็นนายคอยชี้นิ้วบัญชา  ความดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงไม่ให้ระทดท้อ...”
“คนที่ร่ำรวยแล้วยังไม่ยอมหยุดนิ่งละเว้นการสะสม  แล้วคนจนๆอย่างเราจะอยู่เฉยๆได้อย่างไร...”
“เทพเจ้าแห่งโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนเกียจคร้านเลย”
          “ก๋งเพียรสอนให้ฉันยอมรับความเป็นจริงของชีวิต  มีความมั่นใจในตัวเองและเข้มแข็งต่อการบุกบั่นเพื่อความอยู่รอด  ข้อคิดพื้นๆของก๋งทำให้ฉันเข้าใจฐานะที่แท้จริงของตนเอง  ทำให้ฉันเป็นสุขได้ในความขัดสนจนยากและไม่ท้อแท้”
          “คนที่เขารวยได้น่ะเพราะเขามีโอกาสและมีความสามารถไม่ใช่ดวงดีแล้วจะร่ำรวยได้  ก่อนจะสร้างตัวได้สำเร็จเขาจะต้องผ่านการทำงานหนักมาแล้วด้วย  รู้จักหาเงิน  รู้จักเก็บออม  รู้จักคิดหาช่องทางต่อทุน  ฐานะของเขาจึงเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้  ไม่มีใครโชคดีถึงกับนอนขี้เกียจข้างถนนแล้วเทวดาจะโยนถุงเงินลงมาให้ถึงหน้าตัก”
          “เขาไม่อยากเป็นเพื่อนกับเราก็ตามใจเขา  แต่อย่าโกรธหรือเกลียดชังเขา  ในโรงเรียนและในตลาดเรายังหาเพื่อนที่จะคบเราอย่างจริงใจได้อีกมากมายขอให้เราเป็นคนดีเท่านั้น”
          “ปัจจุบันและอนาคตของบางครอบครัวก็คาดคะเนได้ไม่ยากเลย    เพียงแต่มองให้ลึกลงไปในตะกร้ากับข้าวที่เขาจ่ายตลาดมาเท่านั้นก็พอจะเห็นลางได้”
          “ความยากจนเป็นดาบสองคมให้เราเลือกพลิกใช้  คมหนึ่งมันสอนให้เราเจียมตัว  รู้จักประมาณตนแต่อีกคมหนึ่งของมันสั่งให้เราทะเยอทะยานหาญเหิม  สุดแต่เราจะเลือกอยู่ในอำนาจบงการของคมใด”
          “ความจริงของคนๆ หนึ่งไม่ใช่ความจริงของคนทั้งหมด”
          “คนที่มีวิชาติดตัวยากนักที่จะอับจน  แพ้คนยาก  และไม่เสียเปรียบใครด้วย  ถ้าไม่มีวิชาติดตัวเลยจะทำงานสูงๆ  อะไรก็ไม่ได้ต้องเป็นคนหาเช้ากินค่ำ  ติดอยู่กับดินกับทรายตลอดชีวิต  พยายามเรียนไปเถอะหยก  หมดสมองที่จะเรียนเมื่อไรค่อยหยุด”
          “ฉันไม่เคยริษยาใครก็เพราะได้เรียนรู้จากก๋งว่า  คนเราเมือเกิดมาต่างสิ่งแวดล้อม  ต่างโอกาสและฐานะ  องค์ประกอบของชีวิตก็ต้องแผกกันออกไป”
          “สิ่งที่เห็นเมื่อวานหรือวันนี้  พอถึงพรุ่งนี้มันก็จะเปลี่ยนไปเพียงแต่ช้าหรือเร็ว  เพียงบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเอง  ไม่มีใครเหนี่ยวรั้งความเปลี่ยนแปลงไว้ได้หรอก”
          “เกิดเป็นคนทั้งทีต้องให้มีคนรัก  คนที่มีแต่ศัตรูหรือมีแต่คนชิงชังรังเกียจจะหาความสุขไม่ได้หรอกในชีวิตเขา  เพราะจะถูกสาปแช่งถูกปองร้ายอยู่ตลอดเวลา  ตัวเองก็มีความหวาดระแวงไม่สบายใจ  ผิดกับคนดีที่ได้รับคำยกย่องสรรเสริญซึ่งเป็นเหมือนปุ๋ยที่ทำให้ชีวิตเจริญงอกงามยิ่งๆขึ้น”
          “เราจะเพียงแต่รักและเคารพอยู่ในใจไม่ได้  ไม่พอ  เราต้องหาโอกาสตอบแทนด้วยตามกำลังฐานะของเรา”
          “ในตลาดของเราแห่งนี้มีชีวิต  ชีวิตที่ผกผันยิ่งกว่านิยาย  และชีวิตที่ราบเรียบ  จืดชืดเสียจนไม่มีใครจดจำนำไปเล่าสืบทอดให้ฟังต่อๆกันไปอีก  แต่มันก็เป็นชีวิตที่คนเราแต่ละคนต้องประสบพบพานอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงให้พ้นได้  จะมีก็แต่เพียงว่า  ใครจะโชคดีหรือโชคร้ายบนเวทีแห่งนิยายชีวิตเท่านั้น”

รางวัลโนเบล


รางวัลโนเบล (สวีเดนNobelprisetอังกฤษNobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 แต่การมอบรางวัลในสาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สาขาวรรณกรรม และสาขาสันติภาพ เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1901
การมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจัดขึ้นที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ส่วนสาขาอื่นๆ จัดที่เมืองสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในแต่ละสาขานั้นถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดในสาขาวิชาชีพนั้นๆ[1]
การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยผู้พระราชทานคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน ถึงแม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัลโนเบล ใบประกาศเกียรติคุณ เงินรางวัลประมาณ 10 ล้านโคร์นหรือประมาณ 44 ล้านบาท

ประวัติ

รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)
สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel(รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
เหรียญรางวัลโนเบล สำหรับสาขาฟิสิกส์, เคมี, สรีรวิทยา (หรือแพทยศาสตร์) , และ วรรณกรรม

รางวัลซีไรต์




รางวัลซีไรต์ (อังกฤษS.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษSoutheast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยารวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ต้นกำเนิดวันแม่



วันแม่นั้นถูกกำหนดขึ้นโดยชาวอเมริกัน โดยผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ก็คือ แอนนา เอ็ม จาร์วิส คุณครูในรัฐฟิลาเดลเฟีย เธอได้ใช้เวลาเรียกร้องถึง 2 ปี จนประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ในสมัยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
วันสำคัญสำหรับเดือนพฤษภาคมของอเมริกาอีกวันหนึ่งคือวันแม่ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Mother's Day ในแต่ละปีวันจะไม่ตรงกันเนื่องจากถือเอาวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ในการกำหนดวัน วันแม่ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม
ไม่ว่าประเทศไหนๆ ต่างก็มีวันที่จะให้ลูกแสดงความรักต่อผู้ให้กำเนิด ในวันแม่เด็กๆ ชาวอเมริกันจะแสดงความรักต่อแม่โดยซื้อของขวัญมอบให้ หรือเด็กเล็กๆ จะถูกปลูกฝังให้ทำอะไรพิเศษๆ ให้กับแม่ในวันนี้ อาจจะเป็นการเสริฟ์อาหารเช้าถึงที่นอน เพราะพวกเขาจะตื่นแต่เช้ามาทำเองกับมือ ชาวอเมริกันมักนิยมพาแม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านหรือให้แม่เป็นผู้เลือกว่าจะทำกิจกรรมอะไรในวันนี้ เนื่องในวันพิเศษเช่นนี้ทำให้ร้านอาหารต่างๆ แน่นขนัด ถือเป็นวันที่ร้านอาหารขายดีที่สุดในรอบปีก็ว่าได้ นอกจากกิจการร้านอาหารที่ทำให้เศรษฐกิจคล่องตัวแล้ว ร้านขายดอกไม้ การ์ดอวยพรและของขวัญอื่นๆ ที่ต่างก็มีโปรโมชั่นพิเศษให้ลูกๆ ได้จับจ่ายซื้อของขวัญที่วิเศษสุดมอบให้แก่คุณแม่ รวมไปถึงโทรศัพท์ทางไกลก็ดีไปด้วยเพราะลูกๆ ที่ต้องไปทำงานต่างรัฐและไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องด้วยภาระกิจก็จะโทรหาแม่แทน
วันแม่ประเทศอเมริกา เริ่มมีมาเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. 1908 Anna Jarvis เริ่มจัดให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย และเธอผู้นี้พยายามเสนอแนวคิดนี้ให้เป็นจริงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยากในสมัยนั้นก็ตาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ผู้ชายยังคงมีสิทธิและบทบาทเหนือกว่าผู้หญิงมาก จนกระทั่งในปี 1914 ประธานาธิบดี วู้ดโรว วิลสัน ได้กำหนดให้วันแม่เป็นวันหยุดแห่งชาติเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวัน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน


thai-loas
         สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้ว 3 แห่ง คือ
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554

คำขวัญกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Henri Matisse


มาติส(Henri Matisse)

            อองรี มาตีส หรือ เฮนรี่ มาตีส เป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสในศตวรรษนี้ เริ่มแรกเขาตั้งใจเรียน กฎหมาย เมื่ออายุ 20 ปี ขณะพักฟื้นจากการเจ็บป่วย เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นจิตรกร มาตีสยกย่องงานของพวกอิมเพรสชั่นนิสต์ อย่างมาก แต่ก็ไดรับอิทธิพลจากพวกโพสต์อิมเพรสชั่นนิสต์ด้วยเหมือนกัน รวมทั้งเซซานด้วย เขาเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มจิตรกร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม เลส์โฟ หรือสัตว์ป่า เนื่องจากแบบแผนของคนพวกนี้เป็นที่รู้สึกกันในขณะนั้นว่าหยาบกระด้าง
                  มาตีสเดินทาง ท่องเที่ยวไปรอบโลกหลายปี และในป๊ ค.ศ. 1917 เขาก็ได้ตั้งหลักแหล่งในทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เขาได้ออกแบบวิหารให้คณะ แม่ชี โดมินิกัน ที่แวนซ์ และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1951 เขายังได้เขียนภาพฝาฝนังขนาดใหญ่ เต็มกำแพงวิหารนั้นด้วย.